Photoshop กับฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยลดจำนวนของภาพปลอมที่เผยแพร่บนโลกโซเชียลได้

Photoshop เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างและแก้ไขภาพยอดนิยมของ Adobe ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเพื่อเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ มาเป็นเวลานาน และบางครั้งมีการนำ Photoshopไปใช้ในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ Adobe พยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มาโดยตลอด

โดยการสร้างภาพปลอมโดยใช้ Photoshopนั้นเกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ภาพปลอมของปลาฉลามที่มาว่ายน้ำบนถนนที่มีน้ำท่วม ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวทำให้เมื่อวันอังคารที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา Adobe ได้ประกาศเปิดตัวเครื่องมือสำหรับระบุแหล่งที่มาในการใช้งานPhotoshop โดยมีความหวังว่าจะช่วยกระตุ้นให้ผู้คนเชื่อมั่นว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นความจริง หรือไม่อย่างน้อยก็สามารถให้ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการจะนำรูปไปใช้ได้มากขึ้น

Photoshop

Photoshop ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นทางเลือกและพร้อมใช้งานในขั้นต้นสำหรับผู้ใช้งานที่เลือกใช้เท่านั้น

ทั้งนี้คุณลักษณะที่ Photoshop ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นทางเลือกและพร้อมใช้งานในขั้นต้นสำหรับผู้ใช้งานที่เลือกใช้เท่านั้น ซึ่งอย่างน้อยก็จะช่วยให้โปรแกรมแก้ไขรูปภาพจะแสดงรายละเอียดพื้นฐานของรูปภาพว่าใครเป็นผู้สร้าง ภาพที่เห็นเป็นต้นฉบับหรือรูปที่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข รวมทั้งวิธีการเปลี่ยนแปลงว่าจะมีการใช้เครื่องมือทาง AI มาเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปภาพหรือไม่

Photoshop กับฟีเจอร์ใหม่

โดยการเปิดตัวเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการสร้างภาพปลอมของ Photoshop นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Content Authenticity Initiative ของบริษัท เพื่อต่อสู้กับการบิดเบือนข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่ง Adobe ได้เปิดตัวเมื่อปีที่ 2019 กับ Twitter และ The New York Times โดยในขั้นต้นนี้เครื่องมือของ Photoshop จะช่วยระบุแหล่งที่มาของเนื้อหาที่จะใช้สำหรบการเผยแพร่ภาพนิ่งไปยัง Behance ที่เป็นเครือข่ายโซเชียลที่ Adobe เป็นเจ้าของสำหรับแบ่งปันงานสร้างสรรค์ เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทก็มีความหวังว่าข้อมูลที่ถูกต้องนี้จะถูกเพิ่มลงในเนื้อหาประเภทต่างๆ และแชร์กันอย่างแพร่หลายบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ตลอดจนสื่ออื่นๆ ด้วยเช่นกัน

การใช้งาน Photoshop

ถึงแม้ว่าความพยายามของ Adobe ที่จะป้องกันการปลอมแปลงภาพโดยใช้ Photoshop นั้น มีข้อจำกัดเพราะจะต้องใช้ระบุถึงที่มาและข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้วยความสมัครใจ แต่บริษัทก็ยังมีความหวังว่าจะประสบความสำเร็จได้

เพราะยังมืออีกหลายองค์กรที่อยู่ในโครงการ Content Authenticity Initiative ได้พยายามช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างเช่น TruePic ก็ได้เริ่มต้นตรวจสอบความถูกต้องของภาพและวิดีโอที่เผยแพร่บนโลกโซเชียล ส่วน Qualcomm กำลังจะผลิตชิพเพื่อทำให้ภาพที่ถ่ายโดยสมาร์ทโฟนนั้นมีความปลอดภัย โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลได้ให้ความเห็นว่าการป้องกันการเผยแพร่ภาพปลอมนี้ ควรจะต้องได้รับการแก้ไขมานานแล้ว และถือได้ว่าเป็นเรื่องดีที่การเผยแพร่ภาพปลอมจะได้รับการแก้ไขจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ถ้าชอบอย่าลืมกดติดตาม เว็บรวบรวมเทคนิค และ aypal รุกเข้าตลาดสกุลเงินดิจิทัล โดยจะเปิดตัวบริการรับชำระเงินด้วย Bitcoin ต้นปีหน้า

Post Author: admin