ถุงพลาสติก

ข่าวดี สำหรับผลงานนักวิจัยไทยจากเรื่อง ถุงพลาสติก ย่อยสลายได้แล้วภายใน 4 เดือน

ถุงพลาสติก ที่นับเป็นครั้งแรกของไทยที่นักวิจัยคิดค้นกรรมวิธีผลิตถุงพลาสติกชนิดที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติแบบครบวงจร เขาคือ ดร..นพดล เกิดดอนแฝก นักวิจัยจากศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติหรือเอ็มเทค (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร..นพดล เกิดดอนแฝก นักวิจัยจากศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ที่คิดค้นการย่อยสลายของ ถุงพลาสติก  ก่อนหน้านี้ ในบ้านเรามีการผลิตถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้มาแล้ว แต่เป็นการใช้วัตถุดิบคือเม็ดพลาสติกชีวภาพ จากต่างประเทศ ดังนั้นจึงทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง โจทย์นี้จึงทำให้นักวิจัยร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตถุงพลาสติกมาระดมสมอง ร่วมแรงร่วมใจกันคิดค้นเทคนิคการผลิตถุงพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมีราคาที่ไม่แพง             ไม่น่าเชื่อว่า วัตถุดิบสำคัญหนึ่งอย่างของการผลิตถุงพลาสติกชนิดย่อยสลายได้ก็คือ แป้งจากมันสำปะหลัง ซึ่งนักวิจัยได้เลือกใช้ในปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของส่วนผสมวัตถุดิบทั้งหมด ในขณะที่ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ชนิดอื่นๆ ใช้ปริมาณแป้งมันสำปะหลังน้อยกว่า โดยที่ ดร.นพดลเล่าว่า มีการใช้เทคนิคที่ช่วยลดจุดอ่อนของการละลายน้ำของแป้งมันสำปะหลังในกระบวนการหลอมส่วนผสมรวมกับเม็ดพลาสติกในสัดส่วนและอุณหภูมิพอเหมาะ สุดท้ายจึงได้เป็นถุงพลาสติกคุณภาพดี คือ ทั้งเหนียวและแข็งแรง ยืดหยุ่นดี กับสิ่งที่สำคัญคือ ย่อยสลายได้ไวในความชื้นและจุลินทรีย์ที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังปราศจากสารเคมีอันตราย และใช้เครื่องจักรที่มีอยู่ในประเทศด้วย สำหรับระยะเวลาในการย่อยสลายถุงพลาสติกชนิดนี้ประมาณสามถึงสี่เดือนเท่านั้น โดยที่ยิ่งฝังในหลุมขยะที่อุณหภูมิสูง ถุงพลาสติกก็จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ไวมากขึ้นอีก และประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ผู้ผลิตตั้งใจให้ถุงพลาสติกชนิดนี้เป็นตัวกำจัดขยะอินทรีย์ เนื่องจากขยะอินทรีย์ในแต่ละวันมีจำนวนมากมาย คิดเป็นร้อยละ 65 ของขยะทั้งหมด แถมเวลาทิ้ง คนทิ้งกลับไม่ยอมคัดแยกขยะด้วย ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ คือ การใส่เศษอาหารในถุงพลาสติกแล้วก็ทิ้ง […]